2.เจดีย์แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ผู้เคร่งครัดปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรม ตั้งอยู่ที่อำเภอคำชะอี
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
วัดพุทโธธัมมธโร (วัดภูด่านแต้) ตั้งอยู่เลขที่ 109 หมู่ 1 ถ.ชยางกูร บ้านชัยมงคล ต.โชคชัย อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร ัดพุทโธธัมธโร ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 212 ห่างจาก ตัวอำเภอนิคมคำสร้อยประมาณ 4 กิโลเมตร ตรงหลักกิโลเมตรที่ 134 ณ เลขที่ 133 หมู่ที่ 1 บ้านชัยมงคล ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย มีหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่หลังคาพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ก่ออิฐถือปูน ปางปฐมเทศนา ศิลปะรัตนโกสินทร์ ์ประยุกต์ ออกแบบโดยท่านพ่อลี ธัมมธโร ที่เคยดำริจะก่อสร้างที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ หันหน้าออกอ่าวไทยเพื่อเป็นที่พึ่ง ทางใจแก่นักเดินเรือและประชาชนที่อาศัยใน ละแวกใกล้ๆ นั้น เมื่อท่านหลวงพ่อลี ละสังขารก็ไม่มีผู้ใดสานต่อเจตนารมยณ์ ท่านอาจารย์สมพงษ์ ขันติโก ลูกศิษย์พระอาจารย์ลี เจ้าอาวาสวัดพุทโธธัมธโร ได้ก่อสร้างเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์กัมมัฏฐาน ตามแบบที่ท่านพ่อลีออกแบบทุกประการ
หลวงพ่อธรรมจักรสร้างบนหลังคาอุโบสถ องค์พระสูงใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกอยู่ห่างจากถนนชยางกูรประมาณ 500 เมตร มองเห็นองค์พระได้ชัดเจน ตรงหน้าหลวงพ่อธรรมจักร มีรูปปั้นพระอรหันต์เบญจวัคคี ก่อด้วยอิฐถือปูนหันหน้าเข้าหาหลวงพ่อธรรมจักร นับเรียงจากซ้ายไปขวา
องค์ที่ 1 พระอัญญาโกญทัญญะ
องค์ที่ 2 พระวัปปะ
องค์ที่ 3 พระภัทธิยะ
องค์ที่ 4 พระมหานามะ
องค์ที่ 5 พระอัสสชิ
ด้านหลังหลวงพ่อธรรมจักร เป็นธรรมจักรขนาดใหญ่สูงเท่าองค์หลวงพ่อธรรมจักร มองเห็นเป็นภูมิทัศน์ มีความแปลกมหัศจรรย์กว่าพระพุทธรูป ทุกบาง ที่เคยปรากฏ ทำให้เป็นที่หน้าสนใจของประชาชน แวะเข้าชมและนมัสการมากมาย แม้องค์พระเองก็เป็นปริศนาธรรมให้ขบคิด นิ้วพระหัตถ์ที่กล่าวถึงธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 และกิเลสที่พระองค์ตัดห่างไกลโดยสิ้นเชิงคืออวิชชา 3
4.วัดถ้ำภูผาขาว เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันมาก ที่ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง บนภูเขาที่ชื่อว่า ภูเขียว ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร วัดถ้ำภูผาขาว หรือ วัดถ้ำโส้ม ชื่อเรียกที่เป็นภาษาภูไท เป็นวัดที่สร้างอยู่บนหน้าผาอันสูงชันของภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบลบ้านเป้า ส่วนวัดตั้งอยู่บนหน้าผาด้านทิศตะวันออกของภูเขา โดยวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มองเห็นทิวทัศน์ หมู่บ้านในตำบลบ้านเป้าได้ และสวยงามมาก หน้าผาแกะสลักพระพุทธรูปสีทองเหลืองอร่าม สองข้างของพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปเล็กรองลงมาอยู่ข้างละ 2 องค์
5. วัดภูจอก้อ (บรรพตคีรี) เป็นวัดที่หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต จำพรรษาเป็นประวัติอีกหน้าหนึ่งของ
พระเกจิผู้ปฏิบัติธรรมและบรรลุของพุทธศาสนา
ชีวประวัติ ของหลวงปู่หล้า เขมปฺตโต เป็นชีวิตแห่งสมณะผู้ละวางลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มุ่งสู่ ความหลุดพ้นอย่างจริงจังมั่นคง ท่านเกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 ที่บ้านกุดสระ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อนายคูน เสวตร์วงศ์ มารดาชื่อ นางแพง เสวตร์วงศ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 8 คน อาชีพของครอบครัว คือ ทำนา ท่านศึกษาในโรงเรียนชั้นประถมปีที่ 2 ก็ต้องออกมา ในวัยเยาว์ท่านได้มีโอกาสรับใช้พระธุดงค์ที่จาริกมา ในละแวกบ้านซึ่งมีส่วนช่วย หล่อหลอมจิตใจให้ใฝ่ในทางธรรม อายุ 18 บวชเป็นเณร เมื่ออายุครบเกณฑ์ก็ได้บวชเป็นพระ ตามประเพณี จากนั้นก็ลาสิกขา มาครองเรือนได้ประสพความเป็น อนิจจัง ทุกขัง แห่งสังขาร และการพลัดพราก ครั้นปี พ.ศ.2486 บวชเป็นพระมหานิกายที่วัดบ้านยางมีพระครูคูณเป็นอุปัชฌาย์ พรรษาแรกก็สอบนักธรรมโทได้ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 ท่านได้ญัตติเข้าในคณะธรรมยุต ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ครั้งเป็นพระเทพกวีเป็นอุปัชฌาย์ และให้ท่านไปพำนักฝึกการปฏิบัติกับหลวงปู่บุญมี ชลิตโต ที่วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำเค็ม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เคยอาราธนาท่าน
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปพำนักครั้งที่ท่านกลับจากเชียงใหม่ และหลวงปู่บุญมี เคยได้รับการศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น และดำเนินปฏิปทาตามพระบุพพาจารย์6.วัดศรีมหาโพธิ์ เป็นสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสเป็นวัดเก่าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านหว้านใหญ่ ตำบลหว้านใหญ่ ภายในวัดจะมีโบราณสถานคือ สิมอีสาน(โบสถ์) ที่เก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นสิมที่ผนัง 3 ด้าน ภายในผนังจะมีธูปแต้มหรือจิตกรรมฝาผนังเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก และภาพเหตุการณ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพเสด็จตรวจหัวเมืองในมณฑลอีสานประทับทั่งอยู่บนเกวียน ภายในวัดยังมีกุฎิเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันทำเป็นห้องสมุดประชาชน สร้างโดยช่างชาวเวียดนาม เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ซึ่งมีซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นรูปโค้ง สวยงามแปลกตา แต่งต่างจากศาลาหารเปรียญทั่วไปของพุทธศาสนา
วัดศรีมหาโพธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอหว้านใหญ่ เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีสำคัญ และประเพณีต่างๆ ของชาวอำเภอหว้านใหญ่ บริเวณโดยรอบวัดศรีมหาโพธิ์ มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในฤดูแล้งน้ำโขงบริเวณอำเภอหว้านใหญ่แห้งขอด และจะเกิดเกาะแก่งเล็กน้อยขึ้นตามกลางลำแม่น้ำโขง ประชาชนทั้งสองฝั่งโขงทำไปทำการเกษตรตาม เกาะแก่งนั้นเพราะ อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ปุ๋ย ทำให้พืชผักเจริญเติบโตเร็วและสวยงาม นอกจากนี้ยังลำน้ำโขงยัง เป็นแหล่งทำการประมงของชาวอำเภอหว้านใหญ่อีกด้วย
7.วัดลัฏฐิกาวัน บ้านชะโนด อายุมากว่า 300 ปี
ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของวัดลัฎฐิกวัน มีความจำเป็นต้องเท้าความถึงพระคุณเจ้า 2 รูปเสียก่อน เพราะท่านทั้งสองมีความผูกพันกับวัดนี้อย่างใกล้ชิด ไม่เช่นนั้นประวัติและความเป็นมาอาจจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร คือ ท่านหอ หรือพระอุปัชฌาย์ หอ เป็นบุตรของท้าวเมืองโครก หัวหน้าชาวสะผ่าย ดอนโค ที่อพยพจากนครจำปาศักดิ์ มาอยู่ร่วมกับชาวชะโนดในตอนตั้งใหม่ๆ เมืองโครก เป็นต้นตระกุลของชาวหว้านใหญ่ “เมืองโคตร” ท่านหอเป็นคู่กับพระกัสสปะ ผู้เป็นหลานชาย แต่เกิดปีเดียวกันคือ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2269 พออายุได้ 13 ปี ได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด ศึกษาพระธรรมวินัย พระไตรปิฏก คัมภีร์ต่างๆ แตกฉานตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร พออายุครบ 20 ปี อุปสมบทที่วัดเดิม 1 ปี ต่อมาได้ส่งไปศึกษาต่อที่นครเวียงจันทน์ทั้งคู่ สอบบาลีได้ชั้นสูง ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกัสสปะ ได้เป็นพระครู มีความชอบจนพระเจ้าแผ่นดินเวียงจันทน์พระราชทานวัสดุก่อสร้าง พร้อมด้วยนายช่างสถาปัตยกรรม 3 คน มาสร้างโบสถ์และพัทธสีมาวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนดในปี 2296 และเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2299 โดยที่ท่านบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อสร้างเสร็จท่านได้มอบให้พระครูกัสสปะ เป็นเจ้าอาวาสวัดมโนภิรมย์ แล้วท่านได้ออกไปตั้งบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ณ ป่าโนนรังเหนือวัดเดิมออกไปประมาณ 10 เส้นเศษ ต่อมาได้ย้ายไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ แล้วมรณภาพที่กรุงเทพฯ
อีกท่านหนึ่ง คือ พระอุปัชฌาย์บุ หรือพระบุ พระคุณเจ้ารูปนี้ เป็นพระรุ่นหลังๆ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เคยได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดมโนภิรมย์แต่กลับไปปฏิสังขรณ์ วัดที่บ้านเดิม คือบ้านท่าสะโน ภายหลัง หลังจากบ้านชะโนดถูกไฟไหม้ในปี พ.ศ. 2447 ญาติโยมชาวชะโนดได้ตาม ไปนิมนต์อ้อนวอนให้มาซ่อมแซมวัดมโนภิรมย์ ท่านจึงรับนิมนต์มานำชาวบ้านซ่อมแซมใน พ.ศ. 2448 ใช้เวลาซ่อมแซม 6 ปี คือ เสร็จเรียบร้อย ในพ.ศ. 2453 ต่อจากนั้นท่านได้กลับไปสร้างวัดอีกแห่งหนึ่งที่ ท่าสะโนพร้อมกับปฏิสังขรณ์วัดเก่าด้วย ในขณะที่ท่านอยู่ที่วัดที่ท่าสะโนก็ดี อยู่ที่วัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนดก็ดี นอกจากท่านจะใช้เวลาศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฏก และคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งอยู่ในวัดทั้ง 2 เป็นจำนวนมากแล้ว ท่านยัง
ใฝ่ใจศึกษาศิลปกรรมสถาปัตยกรรมทั้งจากตำรา และของจริง ที่บรรดามีในวัดมโนภิรมย์จนมีความสามารถในด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมอย่างกว้างขวาง จนพระเถระและเกจิ อาจารย์ หลาย ๆ ท่านยอมรับ เช่น พระครูโลกอุดร เจ้าอาวาสวัด มีชื่อหลายแห่งมาขอแบบ และนิมนต์ไปก่อสร้างถาวรวัตถุ
ในพุทธศาสนา วัดลัฏฐิกวัน แปลว่า “สวนตาลหนุ่ม” แรกสร้างใหม่ ๆ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดป่า”
เนื่องจากตั้งอยู่ในป่าดอนสูง เรียกว่า “ป่าโนนรัง” ซึ่งก่อนหน้านั้น บ้านชะโนดมีบ้านเรือนเฉพาะแต่ชายฝั่งแม่น้ำโขงเท่านั้น เหนือวัดมโนภิรมย์ ไปตามริมห้วย จะไม่มีบ้านเรือน และไร่สวนเลย เพิ่งจะมีหลัง พ.ศ. 2465 มานี่เอง ณ โนนรังอันเป็นที่ตั้งของวัดลัฎฐกวัน เป็นปัจจุบันก่อน พ.ศ. 2458 มีที่บำเพ็ญสมณธรรมของท่านหอ ห่างจากวัดมโนภิรมย์มาทางเหนือ ตามริมห้วยชะโนด 231 วา พระบุ นันทวโร จึงกำหนดที่แห่งนี้ ี้เป็นที่สร้างของวัดใหม่ พระบุ นันทวโร ได้กลับไปอยู่บ้านเดิม 5 ปี การซ่อมแซมต่อเติมและปฏิสังขรณ์ทุกอย่างเรียบร้อย โดยที่ท่านอยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดมโนภิรมย์ ท่านจึงมอบหน้าที่ให้พระแพงซึ่งเป็นพระลูกวัดที่มีอาวุโส เป็นผู้ปกครองภิกษุสามเณรในวัดมโนภิรมย์ ท่านจะไปสร้างวัดใหม่ ณ ป่าโนนรัง ดังกล่าวมาแล้ว วัดลัฏฐิกวัน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ เดือน พ.ศ. 2458 โดยสร้างพัทธสีมาขึ้นแทนที่บำเพ็ญสมณธรรมของท่านหอให้สมบูรณ์แบบในปีเดียวกันนั่นเองได้สร้างพระเจดีย์์ขึ้น จากนั้นการก่อสร้างวัดใหม่ก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีกุฏิรูปจตุรมุข ศาลาการเปรียญ รอยพระพุทธบาทจำลอง สังเวชนียสถานจำลอง คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และถวายพระเพลิง สระโบกขรณีจำลอง ปลูกตาลไว้ เป็นกำแพงชั้นใน จึงให้ชื่อว่า “วัดลัฎฐิกวัน”
8.วัดมโนภิรมย์ หรือ วัดบ้านชะโนด สร้างขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย โดยมีท้าวคำสิงห์ และญาติที่ย้ายมาจากบ้านท่าสะโนประมาณ 30 ครอบครัวเศษ เป็นผู้สร้าง พร้อมกับการตั้งบ้านชะโนดและเมืองมุกดาหาร ณ ป่าชะโนด ใต้ปากห้วยชะโนด ครั้งแรกเรียกชื่อว่า วัดบ้านชะโนด ภายหลังใช้ชื่อว่า “วัดมโนภิรมย์” บ้านชะโนด และวัดมโนภิรมย์ สร้างขึ้นตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งตามประวัติศาสตร์ถือว่า เป็นยุคทองของวรรณกรรม (สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231) เริ่มสร้างวัดใหม่ๆ นั้นอยู่ในระยะที่ตั้งตัวใหม่ เสนาสนะคงมีแต่กุฏิ และศาลาโรงธรรมและรั้ววัดเท่านั้น วัดมโนภิรมย์มาเจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคงเมื่อพ.ศ. 2269 ในขณะที่บ้านชะโนดมีจำนวนครัวเรือนและประชากรเพิ่มขึ้น มีการส่งบุตรหลานเข้าบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินันมีนักปราชญ์ค้นหาคัมภีร์ตำราตลอดพระไตรปิฏกมาไว้ให้ภิกษุสามเณรได้ค้นคว้าศึกษา ท่านหอ และพระครูกัสสปะ ได้ศึกษาค้นคว้าและบำเพ็ญตนเป็นที่ปรากฏเลื่องลือจึงโปรดให้เข้าเฝ้า และกราบทูลเป็นที่พอพระราชหฤทัยครั้นภิกษุทั้งสองถวายพระพรลากลับจึงโปรดเกล้า พระราชทานวัสดุก่อสร้างมีอิฐ ปูน เหล็ก แก้ว ทอง และสี พร้อมด้วยนายช่างสถาปัตยกรรมจากราชสำนัก 3 คน คือ โชติ, ขะ, โมข ลงแพ ล่องจากนครเวียงจันทน์มาสร้างโบสถ์ และพัทธสีมาวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด
พ.ศ.2282 ท้าวเมืองโครกได้นำบุตรชายชื่อหอและหลานชาย ชื่อกัสสปะเข้าบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมโนภิรมย์เมื่อกุลบุตรคู่นี้อายุ 31 ปี บวชเรียนปฏิบัติและศึกษาพระธรรมวินัย คัมภีร์ และพระไตรปิฏก มีความรู้แฉกฉานจนครบอายุ 20 ปี จึงมีอุปสมบท เป็นภิกษุอยู่ที่วัดเดิมต่อไป อีก 1 ปี บิดามารดา อุปัชฌาย์อาจารย์เห็นว่าพระภิกษุทั้งสองรูปเป็นผู้ประกอบด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีจริยวัตรและคุณธรรมที่สูงส่ง และจะเป็นที่พึ่งสืบสกุลได้ จึงพร้อมใจกันส่งไปศึกษาต่อที่นครเวียงจันทน์ปฏิบัติธรรมและศึกษาอยู่6ปีพระภิกษุทั้งสองรูปก็สอบไล่ได้บาลีชั้นสูงสุดในสมัยนั้น และได้รับสมณศักดิ์พระอุปัชฌาย์ 1 รูป คือ ท่าน หอ เป็นพระครู 1 รูป คือ พระครูกัสสปะโบสถ์วัดมโนภิรมย์ พร้อมด้วยพัทธสีมา สร้างขึ้นเมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2296 ผู้นำในการสร้างคือท่าน หอ พระครูกัสสปะ จารย์โชติจารย์ขะ และจารย์โมข มีชาวบ้านชะโนดและบ้านท่าสะโน เป็นเจ้าภาพและแรงงานซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการย้ายบ้านออกไปการก่อสร้างโบสถ์ พัทธสีมา ส่วนประกอบ ลวดลายรั้ววัด เสร็จเรียบร้อยภายใน3 ปี คือ พ.ศ. 2299
ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่ควรหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง คือแบบอย่าง เป็นแบบ เขมร ไทย ลาว ผสมผสานกัน แต่ทุกอย่างประณีตอ่อนช้อยงดงาม
- โบสถ์ หลังชั้นเดียว หน้าจั่วแหลมชันและงอน ซุ้มประตูใหญ่หน้าบันแกะสลักลวดลายวิจิตรโดดเด่น หาดูได้ยาก เสาสลักลวดลายอ่อนช้อยรดด้วยลายนกทอง ภายในพระประธานเป็นอิฐปูนแต่เด่นสง่า สมสัดส่วน ฐานลดหลั่นงดงาม รอบฐานมีรูปสิงห์หมอบ ตรงบันไดทุกช่องเป็นรูปจระเข้คู่ ตรงบันไดใหญ่หน้าบันเป็นคชสีห์คู่ขนาดเท่าม้า แสดงถึงความลึกซึ้งเก่าแก่
- พัทธสีมา ศิลปะคล้ายๆ แบบขอ พระประธาน เป็นพระกัจจาย
- รั้ววัดและซุ้มประตูวัด เป็นไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นรูปบัวตูมฝังเรียงกัน ซุ้มประตูทำเป็นเสาใหญ่เท่าต้นตาล แต่กลึงเป็นรูปบัวตูม มีรูปปั้นด้วยอิฐปูนเป็นยามเฝ้าประตูทุกช่อง น่าเกรงขามมาก มีบันไดท่าน้ำ ทำเป็นบันไดอิฐปูนลดหลั่นลงตลิ่ง มีรูปหมาเป็นยามนั่งเฝ้า 1 คู่ ตัวโตขนาดเท่าเก้ง แต่สวยงามมาก
- พระองค์ตื้อ เป็นพระทองสัมฤทธิ์ หล่อขึ้นในสมัยที่พระครูกัสสปะเป็นเจ้าอาวาสแทนท่านหอ แต่ไม่ทราบวัน เดือน ปี ที่แน่นอน
- พระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในเวลาใกล้เคียงกัน เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์และงดงามมาก
- พระพุทธรูปปางห้ามญาติ สมัยศรีวิชัย
- พระงา เป็นพระพุทธรูปงาช้างที่แกะสลักโดยพระอุปัชฌาย์บุนันทวโร พระเจ้า 8 พระองค์
ความเป็นมา
สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอนมีเกิดย่อมมีดับ มีเจริญย่อมมีเสื่อม ฉะนั้นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เองตามธรรมชาติก็ดี สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมากก็ดี ย่อมหลีกลี้หนีอนิจจังไปไม่พ้น ดังได้กล่าวในประวัติบ้างแล้วว่า บ้านชะโนดได้รับมหันตภัยจากอัคคีภัยครั้งใหญ่อันเป็นโศกนาฏกรรม และความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือน คือ เมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2447 เกิดอัคคีภัย ไฟไหม้บ้านเรือน วัดวาอาราม วอดวายเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ โดยเฉพาะวัดมโนภิรมย์อันมีกุฏิ วิหาร พัทธสีมา ศาลาการเปรียญ ตู้พระไตรปิฏก พระพุทธรูป เรือแข่ง รั้ววัด ตลอด ฆ้อง กลอง ระฆัง ต้องกลายเป็นเถ้าถ่านทั้งสิ้น พ.ศ.2448 ศรีสุราช และชาวบ้านได้ไปนิมนต์พระบุ นันทวโร จากบ้านท่าสะโนซึ่งเป็นบ้านเดิม มาเป็นผู้นำซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ท่านได้นำชาวบ้านซ่อมแซมวัดมโนภิรมย์ อยู่ 6 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อยทุกอย่าง คือ กุฏิ วิหาร พัทธสีม ศาลา รั้ววัด แม้กระทั่งเรือแข่ง ทุกอย่างที่ซ่อมแซมท่านเป็นผู้ที่ซึ้งในศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมาก เนื่องจากท่านเคยมาศึกษาและปฏิบัติอยู่ก่อนแล้วในประการหนึ่ง ประกอบกับท่านมีความพากเพียรพยายามเป็นที่ตั้งการปฏิสังขรณ์จึงสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี และคงไว้ซึ่งศิลปะดั้งเดิม แม้กระนั้นบางสิ่งบางศิลปะ มิอาจจะกลับฟื้นคืนมาดังเดิมได้ คงเป็นรอยจารึก และภาพแห่งความอาลัยในศิลปะดั้งเดิมเมื่อพบเห็น รายละเอียดเพิ่มคลิก
9. วัดสองคอน เป็นวัดคริสต์จักรนิกาย คาทอลิคเป็นวัดที่ใหญ่และมีประวัตมายาวนาน
วัดสองคอน มุกดาหาร ศรัทธาอันแรงกล้าในศาสนาหนึ่งในเรื่องราวที่ถูกกล่าวขาน คือบุญราศีชาวไทยทั้ง 7 ในจังหวัดมุกดาหารและเป็นที่มาแห่งการสร้างสักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี วัดสองคอน ศาสนาสถานที่มีความสำคัญในระดับประเทศ และภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นอนุสรณ์ให้อนุชนได้รำลึกถึงวีรกรรม และชื่นชมในศรัทธาของบุญราศีชาวไทยทั้ง 7 ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าไว้นิรันดร ตามจากรึกแห่งวัดสองคอน ได้เล่าความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับบุญราศีทั้ง 7 ว่า ช่วงทีประเทศไทยกำลังมีกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส ซึ่งมีความตึงเครียดไปทั่วจังหวัดชายแดนไทย - ลาว ด้วยเหตุที่ว่าบาทหลวงส่วนใหญ่ก็เป็นชาวฝรั่งเศส ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของฝรั่งเศส และเกิดทัศนคติว่าผู้ที่รับถือสาสนาคริสต์ในเวลานั้นฝักใฝ่กับฝรั่งเศสและทรยศต่อชาติ เมื่อสงครามปะทุขึ้นทางการได้เนรเทศบาทหลวงเปาโล ฟีเกต์ เจ้าอาวาสวัดสองคอนออกนอกประเทศ เจ้าหน้าที่ทางการได้ข่มขู่ชาวบ้านให้ละทิ้งศาสนา โดยกล่าวคาดโทษถึงชีวิตแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ทว่านายสีฟอง อ่อนพิทักษ์ และคณะซิสเตอร์ยังคงอยู่ช่วยงานวัด และเป็นผู้นำชาวบ้านสวดภาวนา และเตือนไม่ให้ทุกคนละทิ้งความเชื่อมั่นและศรัทธานั้นต่อไป ท้ายสุดนายสีฟองถูกจักกุมและถูกยิงเสีชีวิต ต่อมาซิสเตอร์และคณะอีก 6 คน ก็ถูกยิงเสียชีวิตที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ หลังจากการปฏิเสธ ที่จะละทิ้งความเชื่อ วีรกรรมความเชื่อมั่นแห่งศรัทธานี้แพร่หลายไปในหมู่คริสต์ชน โดยในปี พ.ศ.2532 พระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ยกย่องคริสต์ชนชาวไทยทั้ง 7 และทรงให้ใช้คำนำหน้าชื่อว่า “บุญราศี” เพื่อสดุดีวีรกรรมนั้นไปในหมู่ชาวคริสต์ทั่วโลก ต่อมาคณะกรรมการบุญราศีแห่งประเทศไทยได้สร้างอนุสรณ์สถานที่วัดสองคอนขึ้นใหม่ และชื่อว่า สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี นับเป็นโบสถ์คริสต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอุษาคเนย์ สามารถจุดคนได้เกือบสองหมื่นคน ในงานฉลองประจำปี และยังได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคาสถาปนิกสยามในปี พ.ศ.2539 อีกด้วยเทศกาลงานประเพณี งานฉลองบุญราศีทั้ง 7 ปีละ 2 ครั้ง คือวันที่ 22 ตุลาคม และวันที่ 16 ธันวาคม (ซึ่งเป็นวันที่ นายสีฟองเสียชีวิต)วันและเวลาเปิด-ปิด เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 -18.00 น. สถานที่ตั้งริมแม่น้ำโขง บางสองคอน อ.หว้านใหญ่ จ.มุดาหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองราว 40 กม. ใช้เส้นทางหมายเลข 2 -12 (หนองคาย - อุบล)
10. วัดป่าวิเวก เป็นวัดที่สร้างพระพุทธไสยาน์ส (พระนอน) ที่อำเภอหว้านใหญ่ ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดมุกดาหาร อยู่ที่บ้านหนองแสง ใกล้โรงเรียนหว้านใหญ่วิทยา ห่างจากอำเภอเมืองหว้านใหญ่ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในวัดเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปปรางไสยาน์ส (พระนอน) ลักษณะการนอนหันเศียรไปทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปเล็กอีกจำนวนมาก ในฝ่าเท้าของพระพุทธรูปยังมีแผ่ารูปแกะสลักของ รูปต่างๆ ของพุทธประวัติ
ความอัศจรรย์ของพระพุทธไสยาน์สองค์นี้ มีหลายครั้งที่พระพุทธรูปถูกโจรเจาะเพื่อหาสมบัตที่ฝังอยู่ภายในตัวองค์พระพุทธไสยาน์ส แต่ไม่เคยประสบผมสำเร็จจะต้องมีอะไรบางสิ่งบางอย่างอย่างมาแสดงปฏิหาริย์ปรากฏให้โจรได้พบเจออยู่ทุกครั้ง ซึ่งโจรเหล่านั้นได้เล่าปากต่อปากเป็นที่โจทน์ขานกันอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น